7.แร่เชอร์คอน แร่เซอร์คอน อาจพบได้ในหินไนส์ หินชีสต์ หรือพบเป็นเม็ดกลมๆ หรือผลึกเล็กๆ
ตามลำธารและชายฝั่งทะเล ชนิดผลึกละเอียดพบตามแหล่งแร่ดีบุก
การถลุงเพื่อให้ได้โลหะเซอร์โคเนียมทำได้โดยนำหางแร่ดีบุกซึ่งมีแร่เซอร์คอนอยู่ไปถลุงในเตาที่อุณหภูมิประมาณ
800 – 1000 °C โดยใช้คาร์บอนเป็นตัวรีดิวซ์ และพ่นแก๊สคลอรีนผ่านเข้าไปตลอดเวลา จะได้ไอของเซอร์โคเนียมเตตระคลอไรด์(ZrCl4) นำผลึกที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับโลหะแมกนีเซียมในเตาเผาที่อุณหภูมิ800 –
850 °C ภายใต้บรรยากาศของแก๊สเฉื่อย
ที่อุณหภูมิในเตาเผาเซอร์โคเนียมเตตระคลอไรด์มีสถานะเป็นแก๊ส
ส่วนโลหะแมกนีเซียมจะหลอมเหลวเมื่อทำปฏิกิริยากันจะได้โลหะเซอร์โคเนียมที่เป็นของแข็งและแมกนีเซียมคลอไรด์หลอมเหลว
การใช้ประโยชน์เซอร์โคเนียมในอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่ใช้ในรูปของแร่เซอร์คอนโดยตรงและในรูปของสารเซอร์โคเนียม เช่น
เซอร์โคเนียมออกไซด์ (ZrO2) ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวมีจุดหลอมเหลว 2700 °C และมีความแข็งแรงมาก ใช้เป็นผงขัดวัสดุทนไฟ ใช้เป็นองค์ประกอบของแก้วและเซรามิกส์ที่ทนกรดและเบส
ใช้เป็นสีและสารเพิ่มความทึบสำหรับเคลือบเครื่องปั้นดินเผาและผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ส่วนเซอร์โคเนียมเตตระคลอไรด์
ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการกลั่นน้ำมัน
และเป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ของเซอร์โคเนียม
นอกจากนี้ยังมีการนำแร่เซอร์คอนที่มีสมบัติโปร่งใส มาใช้ทำเครื่องประดับ
โดยจัดเป็นแร่รัตนชาติที่มีชื่อเรียกว่า เพทาย
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาการถลุงแร่จะมีกากแร่ที่อาจเป็นพิษ
ซึ่งเกิดจากสิ่งเจือปนในสินแร่ เช่น แร่สังกะสีอาจมีกากแคดเมียมซึ่งเป็นสารพิษ
การย่างแร่ทองแดง สังกะสี พลวง และสินแร่ต่างๆ ที่มีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบ
จะได้แก๊ส SO2 นอกจากนี้แก๊ส SO2 ยังเกิดกำมะถันที่เจือปนอยู่ในถ่านหินที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและจากโรงงานผลิตกรดซัลฟิวริกที่นำมาใช้ละลายแก๊ส SO2 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝนกรดซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม การกำจัด SO2 ทำได้โดยใช้ Ca(OH)2 ทำปฏิกิริยากับ SO2 ได้ CaSO4 ซึ่งนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยิปซัมได้ นอกจากนี้ขณะถลุงแร่จะมีฝุ่นโลหะปะปนออกมาซึ่งเป็นอันตรายมากเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการควบคุมไม่ให้เกิดมลพิษโดยจะต้องกำจัดแก๊สและกากแร่ที่เป็นสารพิษให้หมดก่อนที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น